วิชา AC104 ตอน 6 มีทดสอบย่อยเรื่อง เงินสดย่อย และงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ในวันพุธที่ 20 มกราคม 2553 เวลา 08.30-11.00 น. ห้อง CH315 ขอให้นักศึกษามาสอบในวันและเวลาดังกล่าวด้วยนะคะ มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์ 15% นี้นะคะ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]
นักศึกษา AC104 เราเรียนเรื่องการบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรมจบแล้ว
ครูได้ยินว่า หลายคนบอกว่า ไม่รู้เรื่องเลย ใครที่ไม่รู้เรื่อง
หรือไม่ได้ตรงไหน
ลองเข้ามาหาครูที่ห้องพักนะคะ แต่ตอนนี้จะสรุปเนื้อหาคร่าวๆ ดังนี้นะคะ
1. เราจะมีข้อมูลที่เป็นงบทดลอง พร้อมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ณ วันสิ้นงวดบัญชี
2. ให้บันทึกรายการปรับปรุงโดยใช้ข้อมูลจากงบทดลอง พร้อมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม
(รายการปรับปรุงเคยเรียนมาแล้วใน AC103 นะคะ) ก่อนปรับปรุง นำรายการ วัตถุดิบและงานระหว่างทำ
ปลายงวด เขียนต่อจากรายการสุดท้ายในงบทดลอง แล้วนำตัวเลขลงในช่อง เครดิต งบต้นทุนผลิต
และช่องเดบิต งบดุล และนำรายการสินค้าสำเร็จรูปปลายงวด ลงในช่อง เครดิต งบกำไรขาดทุน และ
เดบิต งบดุล
3. เมื่อบันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไปแล้ว ให้นำรายการปรับปรุงเขียนลงช่อง
"รายการปรับปรุง" ในกระดาษทำการ 12 ช่อง ทีละคู่บัญชี พร้อมทั้งเขียนหมายเลขกำกับ รวมยอดให้
เดบิต เท่ากับ เครดิต
4. คำนวณหารายการในงบทดลองหลังปรับปรุง พร้อมทั้งรวมยอดด้านเดบิต และเครดิต ซึ่งต้องเท่ากัน
5. ผ่านรายการจากช่อง งบทดลองหลังปรับปรุง ไปยัง งบต้นทุนผลิต งบกำไรขาดทุน และงบดุล
ตามหลักการ ดังนี้
      5.1 รายการสินทรัพย์ (หมวด 1) ผ่านไปงบดุล ยกเว้น วัตถุดิบ , งานระหว่างทำ ต้นงวด ไป งบต้นทุนผลิต และ สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด ไปงบกำไรขาดทุน  ตัวเลขอยู่ด้านไหนไปด้านนั้น
     5.2 รายการ หนี้สิน (หมวด 2) และ ทุน (หมวด 3) ไปงบดุล
     5.3 รายการ รายได้ (หมวด 4) ไป งบกำไรขาดทุน
     5.4 รายการ ค่าใช้จ่าย (หมวด 5) ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไป งบต้นทุนผลิต
     5.5 รายการ ค่าใช้จ่าย (หมวด 5) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไป งบกำไรขาดทุน
6. รวมยอดด้านเดบิตและเครดิต ของงบต้นทุนผลิต หาผลต่าง ใส่ด้านที่น้อยกว่า และใส่ช่องเดบิต
งบกำไรขาดทุนด้วยตัวเลขเดียวกัน รวมยอด เดบิต เท่ากับเครดิต ในช่องรายการเขียน "ต้นทุนผลิต
สินค้าสำเร็จรูป"
7. รวมยอดด้าน เดบิต และ เครดิต ของงบกำไรขาดทุน หาผลต่าง ใส่ด้านที่น้อยกว่า แล้วหายอดรวม
ใหม่ เดบิต เท่ากับ เครดิต
8. รวมยอดด้าน เดบิต และ เครดิต ของงบดุล หาผลต่าง ใส่ด้านที่น้อยกว่า แล้วหายอดรวมใหม่
เดบิต เท่ากับ เครดิต
**** หมายเหตุ ผลต่างในข้อ 7 และ 8 จะต้องเป็นตัวเลขเดียวกัน เรียกว่า กำไรสุทธิ หรือ ขาดทุนสุทธิ
นำเขียนในช่องรายการ เป็นอันว่ากระดาษทำการ 12 ช่อง เสร็จสมบูรณ์

9. เขียนงบต้นทุนผลิตในรูปแบบรายงาน โดยใช้ข้อมูลจากงบต้นทุนผลิตในกระดาษทำการ 12 ช่อง
10. เขียนงบกำไรขาดทุนในรูปแบบรายงาน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ และตามลักษณะ
11. เขียนงบดุลในรูปแบบรายงาน
12. บันทึกรายการปิดบัญชี ตามขั้นตอนดังนี้
     12.1 ปิดบัญชีเกี่ยวกับการผลิตเข้าบัญชีต้นทุนผลิต โดย เดบิต ต้นทุนผลิต ทิ้งไว้ แล้วดูรายการจาก
ช่องงบต้นทุนผลิต รายการที่มียอดอยู่ทางด้านเดบิตให้นำไปบันทึกปิดทางด้านเครดิต รายการที่มียอดอยู่ทางด้านเครดิต ให้นำไปบันทึกปิดทางด้านเดบิต แล้วหาผลต่างระหว่างยอดด้านเดบิตและเครดิต
นำผลต่างที่ได้ใส่ที่บัญชี ต้นทุนผลิต ที่ได้เดบิตทิ้งไว้
     12.2 บันทึกสินค้าสำเร็จรูปปลายงวด และปิดสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด และต้นทุนผลิต เข้าบัญชีต้นทุนขาย โดย เดบิต ต้นทุนขาย เดบิต สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด เครดิต สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด และเครดิต
ต้นุทนผลิต
     12.3 ปิดบัญชีรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
     12.4  ปิดบัญชีต้นทุนขาย (ที่ได้จากข้อ 12.2) และบัญชีค่าใช้จ่าย (หมวด 5) ที่อยู่ในงบกำไรขาดทุน
เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
     12.5 ปิดบัญชีกำไรขาดทุน (ผลต่างระหว่าง กำไรขาดทุนข้อ 12.3 และ 12.4) เข้าบัญชีกำไรสะสม
เป็นอันเรียบร้อย สำหรับการบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรมในรายวิชา AC104

หากนักศึกษาไม่เข้าใจขั้นตอนใด ข้อใด เรื่องใด ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมมาสอบถามได้ที่ห้องพัก
อาจารย์ ห้อง CH203 นะคะ

"ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น"

 
นักศึกษา AC104 คะ ขอโทษจริงจริง ที่ครูมาช้ามากค่ะ ไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ ดีกว่านะคะ
เนื่องจากว่าเรากำลังเรียนเกี่ยวกับ การบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม อยู่ และจะต้องเขียน
งบต้นทุนผลิต งบกำไรขาดทุน และงบดุล ของกิจการประเภทนี้ให้เป็น
และเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบงบกำไรขาดทุน โดยจำแนกค่าใช้จ่าย ตามหน้าที่และ
ตามลักษณะ ดังนั้นครูจึงได้จัดทำเอกสารที่แสดงงบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะเพิ่มเติม
ให้แก่นักศึกษานะคะ เนื่องจากงบฯ รูปแบบใหม่นี้มีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้นนักศึกษาควรศึกษาวิธีการ
เขียนงบกำไรขาดทุนรูปแบบนี้ไว้ด้วย เพื่อจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต และสามารถ
เขียนงบฯ รูปแบบนี้ได้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องทำงานจริงค่ะ เอกสารประกอบการสอนเพิ่มเติม Click เลย
นักศึกษาคะ เราได้เรียนเรื่องลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ ไปหลายเรื่องด้วยกัน ตั้งแต่ รายการขายเชื่อ
รับคืน รับชำระหนี้โดยได้รับส่วนลด
รวมถึงการนำลูกหนี้ไปค้ำประกันเพื่อกู้เงิน โดยการโอนบัญชีลูกหนี้ การจัดหาเงินโดยการขายบัญชีลูกหนี้ แล้ว หวังว่านักศึกษาพอจะเข้าใจกันบ้างนะคะ และเราก็ได้ทำแบบฝึกหัดกันหลายข้อแล้ว
ในช่วงเวลานี้มีนักศึกษาขาดเรียนหลายคน ครูดาวได้ทำ link เฉลยแบบฝึกหัดเรื่องลูกหนี้ ข้อ 3 ถึง
ข้อ 5 ไว้ใน blog นี้ในหัวข้อ AC213 แล้ว ไป download ดูกันได้เลยนะคะ
และตอนนี้กำลังพยายามจะ upload power point  เรื่องลูกหนี้ที่สอนไปแล้วด้วย แต่ยังทำไม่สำเร็จ
รอก่อนละกันนะคะ
หากมีข้อสงสัยประการใด กรุณามาถามได้ที่ห้องพัก หรือฝากถามใน blog นี้ก็ได้ค่ะ

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ blog Raktai PYU นะคะ blog นี้มีไว้สำหรับให้นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ และผู้ที่สนใจทั่วไปมาเยี่ยมชมได้ค่ะ หลังจากได้เรียนรู้วิธีการทำ blog จากครูยุทธมาแล้ว ตอนนี้ก็ลองทำ blog ที่ไม่ใช่สำหรับบทเรียนดู อย่าลืมมาแวะเวียนเยี่ยมชมกันนะคะ